วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หลักการใช้สื่อกับเด็กประถมศึกษา




           สื่อเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการเรียนการสอน การใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น 
ครูควรยึดหลักการสำคัญ 7 ประการ (ชัยยงค์   พรหมวงค์2525 : 17 – 19) คือ


                                1. ใช้ธรรมชาติการชอบเล่นของเด็กประถมศึกษามาเป็นประโยชน์ต่อการสอนครู
น่าจะทราบว่าโดยธรรมชาติเด็กชอบ “ เล่น ” โดยที่ในปฐมวัยและวัยเด็กการเล่นเป็นการเรียน เด็กจึงชอบเล่นของเล่นที่ตนเองจะมีโอกาสจับต้องลูบคลำ เข้าร่วมกิจกรรม  จิตนาการและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นเมื่อเด็กชอบเล่น ครูจึงควรหาทางใช้ “ การเล่น ”มาเป็นสื่อหรือสู่ทางในการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยนัยนี้ครูจึงต้องมีวัสดุอุปกรณ์ และจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา
                                2. ใช้สื่อการสอนทุกครั้งที่ครูเห็นว่า นักเรียนอาจไม่เข้าใจ ถ้าให้ฟังเพียงอย่างเดียวเมื่อครูเตรียมการสอน เพื่อเขียนแผนการสอนย่อยหรือบันทึกการสอน ครูก็คงต้องวิเคราะห์เนื้อหาเมื่อวิเคราะห์เนื้อหาแล้ว ครูย่อมยอมด้วยสามัญสำนึกว่า เนื้อหาตอนที่  “ สอนง่าย ” คือ พูดให้ฟังแล้วนักเรียนก็เข้าใจ และตอนใด “ สอนยาก ” คือ ทำให้เข้าใจไม่ได้ด้วยการพูดหรืออธิบายเพียงอย่างเดียว ครูก็จะบอกตนเองหรือรำพึงว่า “ เนื้อหาตอนนี้สอนยาก เราน่าจะหาสื่อการสอนมาประกอบ ” เมื่อรำพึงแล้วครูก็พยายามหาสื่อการสอนมาช่วยให้นักเรียนเข้าใจดีขึ้น
                                3. กำหนดวัตถุประสงค์การใช้สื่อทุกประเภทให้เด่นชัด ครูต้องทราบว่าจะใช้
สื่อการสอนแต่ละอย่างเพื่อสอนอะไร เมื่อไร และอย่างไร เพื่อให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในขั้นเตรียมแผนการสอน
                                4. ยึดหลักการใช้สื่อประสมที่จัดไว้ในรูปชุดการสอน “ สื่อประสม ” หมายถึงสื่อตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปที่นำมาใช้สอนเนื้อหาสาระร่วมกัน แต่“ ชุดการสอน ”  เป็นการใช้สื่อประสมตามระบบ
ที่กำหนดไว้มีการกำหนดขั้นตอนอย่างชัดเจน นั่นคือ ในการเตรียมการสอนครูต้องจำแนกเนื้อหาเป็น
หัวเรื่องแต่ละหัวเรื่องจะมีกิจกรรมและสื่อการเรียนแตกต่างกัน เมื่อนำสื่อของทุกหัวเรื่องมารวมกันก็จะได้สื่อประสมที่อยู่ในรูปของชุดการสอน
                                5. ทดสอบประสิทธิภาพของสร้างที่สร้างขึ้นใหม่แต่ละอย่างด้วยการทดลองใช้
เพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ ครูบางคนผลิตสื่อขึ้นมาแล้วก็นำไปใช้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพที่
แท้จริงของสื่อนั้น
                                6.  ทดสอบและตรวจสอบสื่อที่มีผู้ผลิตไว้แล้วว่ามีวิธีการใช้อย่างไร เนื้อหาถูกต้องและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนหรือไม่ ครูบางคนหยิบคว้าอะไรได้ก็นำไปเป็นสื่อโดยไม่ตรวจสอบ
เสียก่อน แล้วก็พบว่าเสียแรงหอบหิ้วสิ่งเหล่านั้นไปเปล่า ๆ
                                7. ใช้สื่อให้เป็น” เครื่องช่วยนักเรียนมากกว่าเป็น “ เครื่องช่วยครูสอน” การใช้สื่อ
ที่สอน ใด ๆ ควรมุ่งให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อนั้น ในบางกรณีครูอาจให้นักเรียนบางคนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสื่อการเรียนของตนเองขึ้นมาด้วย โดยครูเป็นผู้คอยแนะนำ เมื่อครูนำมาใช้เป็นสื่อการสอนเด็กจะเกิดความภูมิใจ และทำให้เกิดบรรยากาศน่าเรียนรู้มากขึ้น
                                การใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นครูควรคำนึงถึงธรรมชาติของการชอบเล่นของเด็ก ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อนนำสื่อทุกชนิดมาใช้ในการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนนั้นครูควรทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด
ในการผลิตและใช้สื่อในการเรียนการสอน

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น